ข่าว:

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

มีนาคม 19, 2024, 09:22:46 AM

Login with username, password and session length

Ads PAT

P&T Hosting Co., Ltd. :: บริการ | จดโดเมนเนม | เว็บโฮสติ้ง | VPS | Co-location |

ผู้เขียน หัวข้อ: ปัญหาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่พบกันบ่อยๆและแนวทางการแก้ไขเบื้องต้น  (อ่าน 4554 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ กองบรรณาธิการ

  • Mr. Smart
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2948
  • ความนิยม: +0/-0
  • Multi Smart Training
    • ดูรายละเอียด
    • Smart Forums
ปัญหาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่พบกันบ่อยๆและแนวทางการแก้ไขเบื้องต้น

รวบรวมปัญหาต่างๆที่พบได้บ่อยๆกับการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยได้พยายามรวบรวมปัญหาที่พบเห็นกันบ่อยๆ และนำมาสรุปให้เป็นแนวทางสำหรับการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น หวังว่าจะมีประโยชน์กับคนอื่นๆได้บ้าง

1. ปัญหาของ Windows

- หลังจาก Setup Windows ใหม่ แล้วเกิดการค้าง ไม่ยอมทำการ Setup ต่อไป
เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่สิ่งหนึ่งที่พบบ่อยๆ คือการตั้งค่า Virus Warning ใน bios ไว้ ทำให้เครื่องไม่สามารถเขียนข้อมูลทับลงบนส่วนของ boot record ของฮาร์ดดิสก์ได้ ให้ลองแก้ใน bios ตั้งให้เป็น Disable ไว้ก่อน และหลังจากทำการ Setup Windows เสร็จแล้วค่อยตั้งเป็น Enable ใหม่

- หลังจาก Setup Windows จะขึ้นข้อความ Windows Protection Error
ที่พบบ่อยๆมากคือ ปัญหาของ RAM อาจจะเป็นเฉพาะช่วงที่ทำการ Setup Windows เท่านั้น (โดยที่ปกติก่อน Setup Windows จะใช้งานได้ ไม่เป็นอะไร) ให้ทดลองหา RAM มาเปลี่ยนใหม่ดู หรือหากเป็น SDRAM ให้ทดลองตั้งค่าใน bios ค่าของ CAS จากที่ตั้งเป็น 2 ลองตั้งเป็น 3 ดู อาจจะช่วยแก้ปัญหาได้บ้าง


2. ปัญหาของ ฮาร์ดแวร์

- RAM หายไปไหนเนี่ย ใส่เข้าไป 32 M. ทำไม Windows บอกว่ามี 28 M. เอง??
อาการของ RAM หายไปดื้อๆ จะเกิดกับการใช้เมนบอร์ดรุ่นที่มี VGA on board นะครับ ที่จริงก็ไม่ได้หายไปไหนหรอก เพียงแต่ส่วนหนึ่งของ RAM จะถูกนำไปใช้กับ VGA ครับ และขนาดที่จะโดนนำไปใช้ก็อาจจะเป็น 2M, 4M หรือ 8M ก็ได้ขึ้นอยู่กับการตั้งใน BIOS ครับ

- ใช้เครื่องได้สักพัก มักจะแฮงค์ พอปิดเครื่องสักครู่แล้วเปิดใหม่ ก็ใช้งานต่อได้อีกสักพักแล้วก็แฮงค์อีก
อาจจะเกิดจากความร้อนสูงเกินไป อย่างแรกให้ตรวจสอบพัดลมต่างๆว่าทำงานปกติดีหรือเปล่า หากเครื่องทำ Over Clock อยู่ด้วยก็ทดลองลดความเร็วลงมา ใช้แบบงานปกติดูก่อนว่ายังเป็นปัญหาอยู่อีกหรือเปล่า ถ้าใน bios มีระบบดูความร้อนของ CPU หรือ Main Board อยู่ด้วยให้สังเกตค่าของ อุณหภูมิ ว่าสูงเกินไปหรือเปล่า ทั้งนี้อาจจะทำการเพิ่มการติดตั้งหรือเปลี่ยนพัดลมของ CPU ช่วยด้วยก็ดี

- มีข้อความ BIOS ROM CHECK SUM ERROR ตอนเปิดเครื่อง
อาการนี้ส่วนใหญ่เกิดจากถ่านของ BIOS หมดหรือเกิดการหลวมครับ ให้ลองขยับถ่านให้แน่นๆดูก่อน ถ้าไม่หายก็ต้องลองเปลี่ยนถ่านบนเมนบอร์ดดู (ก่อนเปลี่ยนถ้ามี Meter วัดไฟดูก่อนก็ดี) หลังจากเปลี่ยนแล้วให้ทำการ Clear BIOS Jumper ก่อนด้วย จะเป็น Jumper ใกล้ๆกับ IC BIOS นั่นแหละ ทำการ Jump ค้างไว้สัก 5 วินาทีแล้วก็ Jump กลับที่เดิมก่อน หลังจากนั้นต้องเข้าไปตั้งค่าต่าง ๆ ของ BIOS ใหม่ด้วย

- ลืม Password ของ BIOS จะทำยังไงดี
ให้ทำการถอดถ่านของ BIOS ออกสักครู่ แล้วใส่กลับเข้าไปใหม่ ทำการ Clear Jumper BIOS ก่อนด้วย หรือลองดูวิธีการ Clear/Reset Password ของ BIOS

- ซื้อฮาร์ดดิสก์มาขนาดใหญ่ๆ แต่หลังจากทำการ Format แล้วเครื่องมองเห็นแค่ 2G
อย่างแรกให้ดูก่อนเลยว่า ใช้ระบบ FAT16 หรือ FAT32 ถ้าหากเป็น FAT16 จะมองเห็นได้สูงสุดแค่ 2G ต่อ 1 Partition เท่านั้น ต้องใช้แบบ FAT32 ครับ
วิธีการคือใช้ FDISK ของแผ่น Startup Disk WIN98 มาทำ FDISK (ถ้าเป็น FDISK จาก DOS หรือ WIN95 จะเป็นแบบ FAT16)

- ไม่สามารถใช้งานฮาร์ดดิสก์ได้มากกว่า 8G. สำหรับเมนบอร์ดรุ่นเก่าๆ
เกิดจากที่ BIOS ไม่สามารถรู้จักกับฮาร์ดดิสก์ที่มีขนาดใหญ่ๆได้ จะเป็นกับเมนบอร์ดรุ่นเก่าๆ ที่เคยพบมาอีกแบบคือ Windows มองเห็นเกิน 8G แต่ไม่สามารถใช้งานได้ จะบอกว่าฮาร์ดดิสก์ของเราเต็ม
วิธีแก้ไขอย่างแรกคือ ให้ลองทำการ Update BIOS เป็น Version ใหม่ดูก่อน (ถ้าหาได้) หรือไม่ก็หา Download โปรแกรมสำหรับจัดการพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ จากเวปไซต์ของผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ยี่ห้อนั้นๆ หรืออาจจะใช้วิธีการแบ่ง Partition ให้มีขนาดใหญ่ไม่เกิน 8G ต่อ 1 Partition ก็อาจจะช่วยได้


3. ปัญหาของ ซอฟต์แวร์

- หลังจากลงโปรแกรมป้องกันไวรัส McAfee 4.0.3 แล้วไม่สามารถบูทเข้า Windows ได้
เท่าที่พบจะเกิดกับบางเครื่องเท่านั้น ปัญหาเกิดจากหลังจากที่เราติดตั้ง McAfee ลงไปแล้ว เครื่องจะทำการ Scan ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์โดยใส่เป็น Batch File ไว้ในไฟล์ autoexec.bat ซึ่งบางครั้งจะเป็นปัญหาทำให้ค้าง ไม่ยอมเข้า Windows ต่อไป
วิธีแก้ไขคือ ให้เปิดเครื่องเข้าใน MS-DOS Mode โดยกดปุ่ม F8 ค้างไว้ขณะเปิดเครื่อง จะเข้ามาที่เมนู Microsoft Windows 98 Startup Menu
เลือกข้อ 6. sefe mode command prompt only แล้วใช้คำสั่ง "edit autoexec.bat" เพื่อแก้ไขไฟล์โดยให้ลบบรรทัดที่มีคำสั่ง scan.exe ออกครับ ทำการ save file แล้วทดลองบูทเครื่องใหม่อีกครั้ง

- พิมพ์หน้า Web Page ออกเครื่องพิมพ์แบบ Ink Jet เป็นภาษาไทยไม่ได้ จะมีแต่ภาษาอังกฤษ
ส่วนใหญ่ปัญหานี้จะเกิดกับการใช้เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ทรุ่นใหม่ๆ
วิธีแก้ไขคือ ให้ลองหา Download Driver รุ่นใหม่ๆของเครื่องพิมพ์จาก Web Site ของเครื่องพิมพ์นั้นๆ เพราะบางครั้งอาจจะมีการแก้ไขปัญหานี้แล้ว หรือไม่ก็ใช้วิธีเข้าไปตั้งค่า Regional Settings ที่ Control Panel เป็น English (USA) ก่อน เมื่อพิมพ์เสร็จแล้วก็เปลี่ยนกลับมาเป็น Thai เหมือนเดิม การตั้งค่าก็ทำโดยกดที่ Start เมนู >> Settings >> Control Panel เลือกที่ Regional Settings เปลี่ยนเป็น English (USA)

- สั่ง Defrag Hard Disk แล้วไม่ยอมเสร็จ จะกลับมาเริ่มต้นใหม่ วนแบบนี้อยู่เรื่อยๆ
สาเหตุเกิดจากมีโปรแกรมบางตัวทำงานอยู่ในเวลานั้นด้วย และสั่งเขียนข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ เช่น Screen Saver, Winamp หรือพวก Anti Virus บางตัว ให้ทำการปิดโปรแกรมเหล่านี้ให้หมดก่อน หรืออาจจะใช้วิธีเข้า Windows ใน Self Mode (กด F8 ตอนเปิดเครื่องแล้วเลือก Self Mode)


4. Eror massage

- 8042 GATE-A20 ERROR
เป็นปัญหาที่ชิพควบคุมการทำงานของคีย์บอร์ด ซึ่งเรียกว่า 8042 Keyboard Controller ให้คุณลองเปลี่ยนคีย์บอร์ดตัวใหม่ดูก่อน ถ้ายังไม่หาย แสดงว่าเป็นปัญหาที่ตัวชิพ 8042 บนเมนบอร์ด ถ้าเป็นอย่างนั้นคงต้องเปลี่ยนชิพ 8042 หรือเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่

- 8087 NMI XXXX.XXXX.TYPE(S)HUT OFF NMI,(R)EBOOT,OTHER KEYS TO CONTINUE
แสดงว่ามีปัญหาที่ Math Coprocessor ให้ลองใช้โปรแกรมทดสอบ Math Coprocessor ทดสอบดู ถ้าไม่ผ่านให้เปลี่ยน Math Coprocessor ซึ่งถ้าเป็นเมนบอร์ด 486 ก็คงสามารถทำได้ เพราะ Math Coprocessor จะแยกกับซีพียู แต่สำหรับเมนบอร์ดเพนเทียม Math Coprocessor จะรวมอยู่กับซีพียู

- ACCESS DENIED
ข้อความนี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเขียนไฟล์ที่เป็น Read-Only หรือเขียนไฟล์ที่อยู่ในแผ่นฟลอปปี้ดิสค์ที่ Write-Protect แต่ถ้าเป็นไฟล์ที่ Read-Only เอาไว้ หากเป็นบน DOS ก็ให้ใช้คำสั่ง Attrib ของ DOS ในการยกเลิก Read-Only หากเป็นบน Windows 95 ก็ให้คลิกเม้าส์ขวาที่ไฟล์นั้น แล้วเลือก Properties คลิกเอาเครื่องหมายถูกออกจากช่อง Read-Only

- ALLOCATION ERROR,SIZE ADJUSTED
ข้อความผิดพลาดนี้เกิดจากการใช้คำสั่ง CHKDSK ซึ่งแสดงว่าขนาดของไฟล์ที่เป็นขนาดทางฟิสิคัล กับขนาดที่ได้กำหนดขึ้น (Allocate) ไม่ตรงกัน คุณควรจะแบ๊คอัพข้อมูลเก็บไว้ก่อนที่ความเสียหายจะเกิดขึ้น

- ATTEMPTED WRITE-PROTECT VIOLATION
ข้อความนี้จะเกิดจากการฟอร์แมตแผ่นฟลอปปี้ดิสค์ที่ได้ Write-Protect เอาไว้ ถ้าคุณต้องการฟอร์แมตแผ่นจริงๆ ก็ให้ยกเลิก Write-Protect บนแผ่น

- BAD DMA PORT=XX
แสดงว่าชิพ DMA Controler บนเมนบอร์ดมีปัญหา คือไม่สามารถผ่านขั้นตอน Post ขณะเปิดเครื่องได้ วิธีแก้ไขคือให้เปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่เลย

- BAD OR MISSING COMMAND INTERPRETER
แสดงว่าแผ่นฟลอปปี้ดิสค์ที่ใช้บูต หรือฮาร์ดดิสค์ที่เป็นตัวบูตไม่มีไฟล์ Command.com อยู่ ให้คุณหาแผ่นฟลอปปี้ดิสค์ที่มีไฟล์ระบบของ DOS อยู่มาบูตแทน ถ้าเป็นฮาร์ดดิสค์ที่ไม่มีไฟล์นี้อยู่ ก็ให้บูตจากแผ่นฟลอปปี้ดิสค์ก่อน แล้วก๊อปปี้ไฟล์นี้เข้าไปไว้ในรูตของฮาร์ดดิสค์ที่ใช้บูต ข้อสำคัญคือ ระบบปฏิบัติการที่ใช้ฮาร์ดดิสค์ต้องเป็นตัวเดียวกัน และเวอร์ชั่นเดียวกันกับที่บูตจากแผ่นฟลอปปี้ดิสค์

- BAD PARTITION TABLE
ถ้าพบข้อความนี้ให้ลองแบ่งพาร์ติชั่นด้วยคำสั่ง FDISK ใหม่ ถ้ายังไม่หายอีก อาจจะเป็นไปได้ว่าเกิดจากไวรัสที่เข้าไปทำลายตารางพาร์ติชั่น ให้ใช้โปรแกรม Anti-Virus ลองสแกนฮาร์ดดิสค์ดู ถ้าไม่พบไวรัสก็คงต้องใช้เป็นวิธีสุดท้ายแล้วเท่านั้น เพราะการฟอร์แมตแบบนี้ไม่ค่อยดีเท่าใดนักสำหรับฮาร์ดดิสค์

- C:DRIVE ERROR
ปัญหานี้เกิดจากการเซต Type ใน CMOS Setup ไม่ตรงกับฮาร์ดดิสค์ที่ใช้อยู่ ไม่ได้เป็นเพราะฮาร์ดดิสค์เสียแต่อย่างใด ทำให้ CMOS ไม่สามารถกำหนดค่าของฮาร์ดดิสค์ไดรฟ์ C ได้ ให้คุณเข้าไปยัง CMOS Setup

- C:DRIVE FAILURE
ข้อความนี้แสดงว่าฮาร์ดดิสค์ไม่มีการทำงาน เป็นปัญหาที่ตัวฮาร์ดดิสค์โดยตรง ทำให้ไบออสไม่สามารถติดต่อกับฮาร์ดดิสค์ได้ อันดับแรกให้ลองตรวจสอบดูก่อนว่ามีเพาเวอร์เข้าไปยังฮาร์ดดิสค์หรือไม่ โดยดูว่าปลั๊กเพาเวอร์เสียบเข้ากับฮาร์ดดิสค์อย่างแน่นหนาหรือไม่ สายเคเบิลใช้งานได้หรือไม่ สายเคเบิลต่อกับฮาร์ดดิสค์ถูกต้องหรือไม่ ถ้าทำตามข้อต่างๆข้างต้นแล้วยังไม่ดีขึ้น ให้ลองฟอร์แมตแบบ Low Level ดู ถ้ายังไม่หายอีกคราวนี้ก็ต้องเปลี่ยนฮาร์ดดิสค์ใหม่

- CHCHE MEMORY BAD, DO NOT ENABLE CACHE
แคชบนเมนบอร์ดไม่ทำงาน ให้เปลี่ยนแคชใหม่

- CH-2 TIMER ERROR
ชิพ Timer บนเมนบอร์ดไม่ทำงาน ให้เปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่

- CMOS BATTERY STATE LOW
แสดงว่าแบตเตอรี่ที่ใช้แบ็คอัพ CMOS RAM มีกำลังไฟอ่อนลง ให้เปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่

- CMOS CHECKSUM FAILURE
ตามปกติแล้วหลังจากที่มีการเซฟค่า CMOS RAM ที่ได้กำหนดไว้ ก็จะมีการสร้างค่า Checksum ขึ้นมา ซึ่งถ้าค่าเดิมกับค่าปัจจุบัน มีค่าแตกต่างกันก็จะมีการแจ้งข้อผิดพลาดข้างต้น วิธีแก้ไขคือให้เซตอัพไบออสใหม่ ถ้ายังไม่หายอีกก็แสดงว่าอาจเป็นปัญหาที่ชิพ CMOS ซึ่งอยู่บนเมนบอร์ด ให้เปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่

- CMOS DISPLAY TYPE MISMATCH
ค่าที่กำหนดชนิดของการ์ดแสดงผลในไบออสไม่ตรงกับชนิดของการ์ดแสดงผลที่ใช้อยู่ ซึ่งเป็นไปได้ว่า CMOS Setup กำหนดเป็น Mono แต่การ์ดแสดงผลที่ใช้อยู่เป็นแบบ VGA

- CMOS PORT DOES NOT EXIST
แสดงว่าพอร์ตอนุกรมมีปัญหา ให้ลองใช้โปรแกรมทดสอบว่าสามารถพบพอร์ดอนุกรมหรือไม่ ถ้าหาไม่พบ และไม่สามารถแก้ไขได้จริงๆ ให้ดูบนเมนบอร์ดว่ามีจัมเปอร์ที่ใช้สำหรับยกเลิกพอร์ตอนุกรมหรือไม่ ถ้ามี ให้จัมป์เพื่อยกเลิก แล้วในการ์ด I/O แทน

- DISK BAD
แสดงว่ามีปัญหาที่ฮาร์ดดิสค์ให้ตรวจอสอบว่าสายเคเบิลใช้ได้หรือไม่ และต่อเอาไว้เรียบร้อยหรือไม่ ให้ลองฟังเสียงและดูว่าแพล็ตเตอร์ของฮาร์ดดิสค์หมุนหรือไม่ ถ้าฮาร์ดดิสค์ไม่มีเสียงหมุน ให้ถอดปลั๊กเพาเวอร์ซัพพลายที่ต่อกับฮาร์ดดิสค์ออกแล้วเสียบเข้าไปใหม่ แต่ถ้ายังไม่ทำงานอีก โดยดูให้แน่ใจด้วยว่าเพาเวอร์ซัพพลายสามารถทำงานได้ปกติ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นก็คงต้องส่งซ่อม

- DISK CONFIGURATION ERROR
สาเหตุจากการนำเอาฮาร์ดดิสค์รุ่นใหม่ๆมาใช้กับคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า โดยไบออสไม่สามารถรู้จักฮาร์ดดิสค์ที่ต่อได้ แต่ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้โดยอัพเกรดไบออสให้เป็นเวอร์ชั่นใหม่

- DISK DRIVE 0 SEEK FAILURE
ปัญหานี้เกิดจากการที่ไม่ได้ต่อฟลอปปี้ดิสค์ไดรฟ์เอาไว้ แต่ไปเซตใน CMOS Setup ให้มีการใช้ฟลอปปี้ดิสค์ไดรฟ์ ทำให้ไบออสไปมองหาไดรฟ์ที่ไม่ได้ต่ออยู่จริง ดังนั้นถ้าหากคุณไม่ได้ต่อฟลอปปี้ดิสค์ไดรฟ์ ก็ให้เข้าไปยกเลิกในไบออสด้วย

- DISK DRIVE RESET FAILED
เกิดจากคอนโทรลเลอร์ของดิสค์ไดรฟ์ไม่สามารถรีเซตการทำงานได้ ให้ลองปิดเครื่องแล้วเปิดใหม่ ถ้ายังไม่หาย ให้เปลี่ยนคอนโทรลเลอร์ใหม่ ซึ่งถ้าเป็นเมนบอร์ดรุ่นใหม่คอนโทรลเลอร์จะอยู่บนเมนบอร์ด ก็เท่ากับต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่

- DISK BOOT FAILURE
แสดงว่าแผ่นฟลอปปี้ดิสค์ที่ใช้บูตไม่มีไฟล์ระบบอยู่จึงไม่สามารถบูตได้ ให้สร้างไฟล์ระบบสำหรับบูตกับแผ่น

- DISK READ FAILURE
ถ้าเกิดปัญหานี้ให้ดูก่อนว่าสายเคเบิลต่อถูกต้องหรือไม่ และสายเพาเวอร์ต่อเรียบร้อยหรือไม่ ลองเปลี่ยนแผ่นฟลอปปี้ดิสค์ใหม่ ถ้ายังไม่หาย แสดงว่าฟลอปปี้ดิสค์ไดรฟ์เสีย ให้เปลี่ยนใหม่

- DMA ERROR
ปัญหาเกิดจากชิพ DMA ไม่ทำงาน ให้เปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่

- DRIVE NOT READY
ปัญหานี้ถ้าเกิดกับฟลอปปี้ไดรฟ ก็ให้คุณตรวจสอบว่าสายเคเบิลไม่เสียหาย ดูว่าการต่อสายเคเบิลและสายเพาเวอร์เรียบร้อยดีหรือไม่ พินของฟลอปปี้ไดรฟ์ไม่หักงอ ถ้าสำรวจตามข้างต้นแล้วก็ยังไม่หาย ฟลอปปี้ดิสค์ไดรฟ์อาจมีปัญหาที่ตัวเซนเซอร์ข้างใน ทำให้ฟลอปปี้ดิสค์ไม่สามารถรับรู้ว่ามีแผ่นอยู่แล้ว ถึงแม้จะใส่แผ่นเข้าไปแล้ว

- FDD CONTROLLER FAILURE
เป็นปัญหาที่คอนโทรลเลอร์ควบคุมฟลอปปี้ไดรฟ์ หรืออาจเป็นปัญหาที่ฟลอปปี้ไดรฟ์ ให้ตรวจสอบสายต่างๆว่าต่อเรียบร้อยหรือไม่ ถ้าเป็นเมนบอร์ดรุ่นเก่าที่ใช้การ์ด I/O ให้ดูว่าการ์ดเสียบกับสล้อตแน่นหรือไม่ ถ้ายังไม่หายให้เปลี่ยนการ์ด แต่ถ้า I/O อยู่บนเมนบอร์ด ก็ต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่

- FILE ALLOCATION TABLE BAD
FAT มีปัญหาให้ใช้โปรกแกรมซ่อมแซมดิสค์ตรวจสอบดู


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

พื้นที่โฆษณา


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

- GATE A20 FAILURE
ไบออสไม่สามารถสวิตช์ให้ซีพียูทำงานที่ Protected Mode ได้ ซึ่งปัญหานี้อาจเกิดจากคีย์บอร์ดไม่ดีก็ได้ หรืออาจเกิดเนื่องจากสัญญาณที่ส่งออกมาจากชิพ 8042 ผิดพลาด ให้ลองเปลี่ยนคีย์บอร์ดใหม่ ถ้าเปลี่ยนแล้วยังไม่หาย แสดงว่าอาจเกิดปัญหาที่ชิพ ซึ่งก็ต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่

- GENERAL FAILURE READING DRIVE X:
ถ้าเจอข้อความนี้ครั้งแรก ให้กดแป้น I เพื่อเลือก Ignore แล้วทดสอบดิสค์ด้วยโปรแกรมตรวจสอบดิสค์ ถ้ายังขึ้นข้อความอีกให้เลือก Abort โดยกดแป้น A แล้วตรวจสอบสายที่ต่ออยู่ ถ้าหากเป็นฟลอปปี้ไดรฟ์ ให้ลองเปลี่ยนแผ่นใหม่

- HARD DISK FAILURE
ให้ดู C:DRIVE FAILURE สาเหตุและวิธีแก้ไขจะเหมือนกัน

- INSUFFICIENT MEMORY
แสดงว่าโปรแกรมที่คุณเรียกขึ้นมาต้องการใช้แรมมากกว่าที่มีติดตั้งอยู่ในเครื่อง ให้คุณดูว่ามีโปรแกรมอื่นเปิดอยู่หรือไม่ ถ้ามีให้ปิดลงไปให้หมด และมีโปรแกรมใดถูกเรียกที่ Start Up หรือไม่ ถ้ามีก็ให้ปิดโปรแกรมเหล่านั้นลงไป แล้วลองดูใหม่ ถ้ายังไม่ดีขึ้น ก็ต้องติดตั้งแรมเพิ่ม หรือใช้โปรแกรมจัดการหน่วยความจำ

- INTERNAL CACHE TEST FAILED
ถ้าพบอาการเช่นนี้ให้ลองบูตเครื่องใหม่ก่อน แต่ถ้ายังเป็นอยู่ แสดงว่าแคชในซีพียูไม่ทำงานแล้ว คุณต้องเปลี่ยนซีพียูใหม่

- INTR1 ERROR
Interrupt Controller มีความเสียหาย ให้เปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่

- KEYBOARD BAD
คีย์บอร์ดไม่ผ่านขั้นตอนของการ POST ให้ดูก่อนว่าคีย์บอร์ดต่ออยู่เรียบร้อยหรือไม่ ถ้ายังไม่หาย ให้เปลี่ยนคีย์บอร์ดใหม่

- KEYBOARD ERROR
ปัญหานี้อาจเกิดจากคีย์บอร์ดที่ใช้ไม่คอมแพตทิเบิลกับไบออส AMI ให้ลองเซตตรงส่วนของคีย์บอร์ดใน CMOS Setup เป็น Not Installed แล้วบูตเครื่องใหม่

- MEMORY ADDRESS LINE FAILURE AT XXX:XXX,...
เกิดปัญหาที่เส้นแอดเดรสของหน่วยความจำบนเมนบอร์ด ให้เปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่

- MEMORY PARITY ERROR AT XXXX
แสดงว่าชิพที่อยู่บนแรมมีปัญหา ให้เปลี่ยนแรมใหม่

- NO BOOT DEVICE AVAILABLE
ถ้าไม่สามารถบูตทั้งฟลอปปี้ไดรฟ์และฮาร์ดดิสค์ ถ้าเป็นการบูตที่ฟลอปปี้ดิสไดรฟ์ ให้คุณดูก่อนว่าแผ่นที่ใส่เข้าไปมีไฟล์ระบบอยู่หรือไม่ และตรวจสอบว่าสายต่อดีหรือไม่ ถ้าไม่สามารถบูตที่ฮาร์ดดิสค์ได้ ให้ตรวจสอบว่าสายต่อีอยู่หรือไม่ ถ้ายังไม่ดีขึ้น ให้ใช้โปรแกรมตรวจสอบดิสค์ทำการทดลอง เป็นไปได้ว่าอาจเกิดความเสียหายที่ส่วนของการบูต หรือไม่ได้รับการ alignment

- NON-DOS DISK ERROR READING(WRITING) DRIVE X:
ข้อความนี้แสดงว่าคอมพิวเตอร์ไม่สามารถหาแทร็คสำหรับบูตบนแผ่นดิสค์พบ ให้ก๊อปปี้ไฟล์ระบบเข้าไปใหม่โดยใช้คำสั่ง Sys

- NO TIMER TICK INTERRUPT
ชิพ Timer ที่อยู่บนเมนบอร์ดไม่สามารถรับ Interrupt to ที่ Interrupt controller ส่งออกมา ต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่

- POINTER DEVICE FAILURE
มีปัญหาเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการชี้ตำแหน่ง ให้ตรวจสอบว่าอุปกรณ์ดังกล่าวต่ออยู่กับพอร์ต PS/2 ดีหรือไม่ ถ้ายังไม่หายให้เปลี่ยนอุปกรณ์ในการชี้ตำแหน่งใหม่

- PROCESSING CANNOT CONTINUE
ข้อผิดพลาดนี้เกิดจากการเรียกใช้งานโปรแกรมบน DOS โดยมีหน่วยความจำไม่เพียงพอ ให้เพิ่มแรมให้มากขึ้น

- RAM BAD
มีการผิดพลาดที่ชิพของแรม หรือมีปัญหาที่เมนบอร์ด

- REAL TIME CLOCK FAILURE
ปัญหาเกิดจากแบตเตอรี่ไฟไม่พอจ่ายให้กับชิพ Real Time Clock บนเมนบอร์ด ทำให้เวลาเดินไม่ตรง ให้เข้าไปที่ CMOS Setup แล้วเซตเวลาใหม่ ถ้ายังไม่หาย ให้ลองเปลี่ยนแบตเตอรี่ ถ้ายังไม่หายให้เปลี่ยนเพาเวอร์ซัพพลาย

- XX=SCANCODE, CHECK KEYBOARD
ข้อความนี้แสดงว่าคอมพิวเตอร์ได้รับสัญญาณที่ส่งมาจากคีย์บอร์ด โดยอาจจะเกิดจากขั้วต่อของคีย์บอร์ดต่อไม่แน่น มีการหักงอของขาสัญญาณ หรืออาจเกิดจากมีคีย์ใดคีย์หนึ่งเกิดการค้าง ให้แก้ไขไม่ให้คีย์บอร์ดค้าง หรือถ้าไม่ดีขึ้นก็ให้เปลี่ยนคีย์บอร์ดใหม่

- TRACK 0 BAD - DISK UNUSABLE
ถ้าปัญหานี้เกิดขึ้นกับฟลอปปี้ดิสค์ ก็เป็นไปได้ว่าเกิดจากการฟอร์แมตแผ่นฟลอปปี้ดิสค์ที่มีขนาดใหญ่ ในไดรฟ์ที่ความจุน้อย แต่ถ้าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับฮาร์ดดิสค์ คุณก็ต้องเปลี่ยนฮาร์ดดิสค์ใหม่



ที่มา: เขียนโดย คุณ หลวงแขล็ก  Com-th.net / JustUsers.net
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 14, 2009, 02:50:56 PM โดย กองบรรณาธิการ »


หลักสูตรการฝึกอบรม สัมมนาอบรม วอล์คแรลลี่ WalkRally @MultiSmart Line ID@coa4735j
www.multi-smart.com www.walkrally.net www.walkrally.in.th